ประชาสัมพันธ์ ผลงานรัฐบาล 2 ปี พล.อ.ประยุทธ์ ในที่ประชุมสภา อบต.อุดมทรัพย์
ในห้วง 2 ปีแรกที่รัฐบาลและ คสช. เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน
/ แม้ว่าจะต้อง เผชิญกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
/ เมื่อระยะเวลาผ่านไป ผลการ ทำงานของรัฐบาลเป็นที่ประจักษ์ มีผลสัมฤทธิ์ปรากฏออกมา ทำให้มุมมองและการ ประเมินที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆ มีต่อประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ “ดีขึ้น” อย่างน่า พอใจ
/ สะท้อนผลการท างานของรัฐบาลในทุกด้าน สรุปได้ดังนี้
1.ด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศซึ่งส่งผลกระทบในทางที่ดี กับทุกๆ ด้านที่เหลือ มีผลการประเมินที่น่าสนใจ ได้แก่
-ความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนทางการเมือง “ดีขึ้น 7 อันดับ” จาก อันดับที่ 58 (ปี 57) เป็นอันดับที่ 51(ปี 59)
-ความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐ “ดีขึ้น 22 อันดับ” จาก อันดับที่ 57 (ปี 57) เป็นอันดับที่ 25(ปี 59)
-จำนวนคดียาเสพติดก็ “ลดลง” กว่าร้อยละ 50 จาก 4 แสนคดี (ปี 56) เหลือ 2 แสนคดี (ปี 58) -ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (CPI)เกือบ 180 ประเทศ ทั่ว โลก / ตั้งแต่ปี 2556 –2558 อันดับของประเทศไทย “ดีขึ้น” ทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง / โดยใน ปี 2556 ก่อนที่รัฐบาลนี้ และ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ เราอยู่อันดับที่ 102 / ปัจจุบันเรา อยู่อันดับที่ 76 (“ดีขึ้น” เกือบ 30 อันดับ) / ทั้งนี้ สถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ ได้ประเมินสถานการณ์คอร์รัปชั่นของไทย ในสายตานานาชาติ ว่า “ดีที่สุด” ในรอบ 6 ปี และมีความโปร่งใส “ดีที่สุด” ในรอบ 10 ปี )
-จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบใน จชต. “ลดลง” กว่าร้อยละ 50
2. ด้านความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจและสังคม มี ผลการประเมินที่น่าสนใจ ได้แก่
-อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) มีแนวโน้ม “สูงขึ้น + ต่อเนื่อง” จาก 0.8% (ปี 57) เป็น 3.2% (ปี 59) - สัดส่วนมูลค่า SMEs ต่อ GDP มีแนวโน้ม “สูงขึ้น + ต่อเนื่อง” จาก 39.6% (ปี 57) เป็น 42.3% (ปี 59) -ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางบก “ดีขึ้น 22 อันดับ” จาก อันดับที่ 48 (ปี 56) เป็นอันดับที่ 26(ปี 59) -ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการคมนาคมทางอากาศ “ดีขึ้น 3 อันดับ” จาก อันดับที่ 23 (ปี 56) เป็นอันดับที่ 20(ปี 59) -ความน่าลงทุนระหว่างประเทศ “ดีขึ้น 3 อันดับ” จาก อันดับที่ 31 (ปี 56) เป็น อันดับที่ 28(ปี 59)
-องค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศการจัดอันดับดัชนี e-Government ประเทศไทยได้ “เลื่อนขึ้น” 25 อันดับ จาก 102 ในปี 2014 เป็นอันดับ 77 ปี 2016 จาก 193 ประเทศทั่วโลก
-มหาวิทยาลัย WASEDA (วา-เซ-ดะ) ของญี่ปุ่น ประกาศผลการจัดอันดับ eGovernment ปี 2016 ประเทศไทยได้อันดับที่ 21 จาก 65 ประเทศ ขยับ “ดีขึ้น” 2 อันดับ จากปี 2014 ที่ได้อันดับที่ 23 - สถาบันการจัดการนานาชาติ (IMD) จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ ปี 2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 28 (ปี 2558 อันดับที่ 30 / ดีขึ้น 2 อันดับ)
- ปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เกือบ 30 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 11 ของโลก) สร้างรายได้เข้าประเทศ 1.44 ล้านล้านบาท (สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก) - ปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย มีแนวโน้ม “สูงขึ้น + ต่อเนื่อง” จาก 8.0% (ปี 56) เป็น 8.5% (ปี 58) -อัตราการเจ็บป่วยต่อประชากรพันคน “ลดลง + ต่อเนื่อง” / และอัตราการ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบก (ต่อประชากร “แสน” คน) “ลดลง” จาก 11.3 คน (ปี 56) เหลือ 9.7 คน (ปี 58)
-ผลการจัดอันดับประเทศที่มี “ความทุกข์ยาก น้อยที่สุดในโลก”
ของ Website “บลูมเบิร์ก”ให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 จากทั้งหมด 74 ประเทศทั่วโลก / และเป็น ประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องกัน
/ นอกจากนี้ นิตยสารนิวส์ แอนด์เวิลด์ รีพอร์ต ได้จัดอันดับ 60 ประเทศที่ดีที่สุด ประจำปี 2016 โดยประเทศไทยได้ ถูกจัดอยู่ในล าดับที่ 21 ของโลก / อันดับสูงสุดในอาเซียน / และระบุด้วยว่า ประเทศไทย น่าท่องเที่ยวผจญภัย และเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 4 จาก 60 ประเทศที่ดีที่สุด
/ ซึ่งวัดจากความสวยงามทางธรรมชาติ มรดกทางประเพณีและ วัฒนธรรม ลักษณะประชากรและคุณภาพชีวิต โอกาสในการประกอบการ โอกาสด้าน ธุรกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเมือง
3. ด้านกฎหมายและการต่างประเทศ มีผลการดำเนินงานที่น่าสนใจ ได้แก่
-ออกกฎหมายที่สำคัญ จำเป็นได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
-การแก้ปัญหางาช้าง ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ทำให้รอดพ้นจากการถูกคว่ำบาตรทางการค้าจาก CITES ซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจ มากกว่า 47,000 ล้านบาทต่อปี
-การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งรัฐบาลนี้ ถือเป็น “วาระแห่งชาติ” / มีความ คืบหน้า จนสหรัฐอเมริกา ได้ปรับระดับในรายงานการค้ามนุษย์ หรือ TIP Report ประจำปี 2559 ให้ประเทศไทย “ดีขึ้น” /ซึ่งอาจจะส่ง “ผลดี” ต่อการแก้ปัญหาการประมง ผิดกฎหมาย (IUU) ของทาง EU เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกัน / โดยสินค้าประมงไทย มี มูลค่าการส่งออก กว่า 240,000 ล้านบาทต่อปี